• การพัฒนาซอฟต์แวร์ chevron_right
  • Seo และ Lead chevron_right
  • เนื้อหา และ AR chevron_right
  • สร้างสรรค์และ UX chevron_right
  • พวกเราคือใคร chevron_right
keyboard_backspace
keyboard_backspace
ราคาบริการการตลาดอินฟลูเอนเซอร์มืออาชีพ
แผนพื้นฐาน
฿54,000
รายเดือน
ยอดการดูหน้าเว็บ 100K ถึง 200K
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
  • การวิจัยกลุ่มเป้าหมายในเชิงลึก
  • บทสรุปเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนากลยุทธ์
  • ดำเนินการตรวจสอบ ติดต่อ และว่าจ้าง Influencer
แผนเชิงรุก
฿90,000
รายเดือน
ยอดการดูหน้าเว็บ 200K ถึง 500K
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
  • รายงานของคู่แข่ง
  • การวิจัยคีย์เวิร์ดที่กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ
แผนผู้นำตลาด
฿126,000
รายเดือน
การดูหน้าเว็บ 500K ถึง 1M
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
  • การติดตามพิกเซล
  • ปรึกษาส่วนตัวกับอินฟลูเอนเซอร์ SME
  • การรีไซเคิลเนื้อหาอินฟลูเอนเซอร์
การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ราคาเท่าไหร่?

ในปี 2564 การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์มีราคา 30,000 ถึง 30 ล้านบาทต่อโพสต์ เป็นช่วงราคาที่ค่อนข้างกว้างซึ่งท้าทายบริษัทต่างๆ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ส่งผลต่อราคาการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์เช่นกัน

ค้นหาข้อมูลในคู่มือที่มีประโยชน์นี้ ซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการกำหนดราคาการตลาดอินฟลูเอนเซอร์

อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นทุนเบื้องหลังการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ หรือหากคุณต้องการร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์โดยที่ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก โปรดติดต่อทีมของเราเพื่อขอข้อมูลหรือปรึกษาเกี่ยวกับบริการด้านการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ คุณสามารถติดต่อเราทางออนไลน์หรือโทรหาเราได้ที่ 888-601-5359!

ราคาการตลาดอินฟลูเอนเซอร์จาก Uptle

ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปีและสมาชิกในทีมที่ได้รับรางวัลมากกว่า 200 คน Uptle เป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ สำหรับการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ความเชี่ยวชาญของเรา บวกกับความสามารถในการสร้างยอดขายให้กับลูกค้า ทำให้เราเป็นตัวเลือกที่แข่งขันได้สำหรับธุรกิจทั่วโลก

อยากรู้เกี่ยวกับบริการและราคาการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของเราหรือไม่? ดูตารางราคาของเราได้ที่นี่!

เช่นเดียวกับบริการการตลาดดิจิทัลทั้งหมดของเรา บริการการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ของเราเริ่มต้นด้วยกลยุทธ์ที่คุณสามารถกำหนดเองได้ ผู้จัดการบัญชีเฉพาะและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะใช้เวลาในการเรียนรู้ธุรกิจและอุตสาหกรรมของคุณ รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์และค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่สมบูรณ์แบบที่เหมาะกับธุรกิจของคุณที่สุด

ลักษณะเฉพาะ ฿54,000
โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
฿90,000
โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
฿130,000
โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
฿162,000
โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
กำหนดเอง
โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน
ลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น

ช่วงจำนวนการเข้าดูหน้าเว็บ (ค่าเฉลี่ยรายเดือน)

30k - 100k

100k - 200k

200k - 500k

500k - 1M

1 ล้าน +

การวิจัยกลุ่มเป้าหมาย

การวิจัยทางประชากรและความสนใจ

การพัฒนากลยุทธ์อินฟลูเอนเซอร์

อินฟลูเอนเซอร์

จ้างและทำสัญญาอินฟลูเอนเซอร์

การสื่อสารกับอินฟลูเอนเซอร์

ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานของแบรนด์และข้อความที่ใช้สื่อสารการขายจะใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด

การตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่งาน เพื่อลดการสื่อสารที่อาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับแบรนด์

การพัฒนาครีเอทีฟบรีฟด้วยข้อความสำคัญ

รายงานการร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ (เลือกผู้จัดพิมพ์ของคุณ)

การพัฒนาโค้ดติดตามที่ไม่ซ้ำกัน

การตั้งค่า Google Analytics พร้อมเครื่องมือวัด Conversion

รายงานข่าวของคู่แข่ง

การวิจัยคีย์เวิร์ดที่กำหนดลูกค้าเป้าหมาย

การตรวจสอบอันดับคำหลัก Keyword

การเข้าชมรายเดือนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการติดตามพิกเซลและการรายงานเป้าหมาย

ปรึกษาส่วนตัวกับ Influencer SME

การรีไซเคิลเนื้อหาอินฟลูเอนเซอร์

รวม

฿54,000

โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน

฿90,000

โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน

฿130,000

โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน

฿162,000

โพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน

กำหนดเอง

Influencer Marketing คืออะไร?

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์เป็นการตลาดรูปแบบใหม่ เมื่อบริษัทร่วมมือกับบุคคลที่มีอิทธิพลในแวดวงสื่อ และสามารถกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภค จึงสามารถโน้มน้าวผู้ซื้อให้พิจารณา มีส่วนร่วม และใช้ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจต่างๆ ได้

อินฟลูเอนเซอร์มี 2 ประเภท คือ:

  • ไมโครอินฟลูเอนเซอร์: ไมโครอินฟลูเอนเซอร์มีผู้ติดตามระหว่าง 1,000 ถึง 100,000 คนบนแพลตฟอร์มต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากมีผู้ติดตาม 50,000 คนบน Snapchat จะนับเป็นไมโครอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งส่วนใหญ่ธุรกิจจะร่วมมือกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์
  • มาโครอินฟลูเอนเซอร์: Macro-Influencer มีผู้ติดตามมากกว่า 100,000 คน ในกรณีส่วนใหญ่ อินฟลูเอนเซอร์มักจะนับรวมดาราทางอินเทอร์เน็ตและดาราฮอลลีวูดด้วย เนื่องจากผู้ติดตามจำนวนมาก อินฟลูเอนเซอร์มักจะคิดราคาที่สูงกว่า จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SMB) ถึงเลือกใช้ไมโครอินฟลูเอนเซอร์

แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ประเภทใด ก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจของคุณได้เช่นกัน

คุณควรจ่ายให้อินฟลูเอนเซอร์เท่าใด?

ในตลาดปัจจุบัน อินฟลูเอนเซอร์ครอบคลุมตั้งแต่ดาราดังไปจนถึงคนทั่วไป ดังนั้นราคาสำหรับการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์จึงมีตั้งแต่ 30,000 ถึง 30 ล้านบาทต่อโพสต์ และยังเป็นสาเหตุที่บริษัทต่างๆ มักถามถึงราคากลางสำหรับการจ้างอินฟลูเอนเซอร์

เรียนรู้สิ่งที่คุณจะต้องจ่ายให้กับอินฟลูเอนเซอร์ในแพลตฟอร์มและโพสต์ในวิดีโอ จากคู่มือการกำหนดราคาด้านล่างนี้:

1. Facebook (฿750 / 1,000 ผู้ติดตาม)

ด้วยผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 1 พันล้านรายต่อวัน ทำให้อินฟลูเอนเซอร์และบริษัทเข้าถึงผู้บริโภคอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้มีอิทธิพลบนแพลตฟอร์มคิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ฿ 750 ต่อโพสต์ ต่อผู้ติดตาม 1,000 คน

มุมมองต่อไปนี้ คือ ราคาของการทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์บน Facebook:

  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน อาจมีราคา ฿ 7,500 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คน อาจมีราคา ฿ 2,250,000 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 1,000,000 คน อาจมีราคา ฿ 750,000 ต่อโพสต์

ในบางกรณี อินฟลูเอนเซอร์อาจมีราคาสูงกว่าอัตราเฉลี่ยข้างต้น ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์สร้างโพสต์เป็นวิดีโอ พวกเขาอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการสร้างวิดีโอ หรือหากคุณเชิญอินฟลูเอนเซอร์มาถ่ายทำที่บริษัทของคุณ อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มเติม

เพื่อประสบการณ์การตลาดอินฟลูอินเซอร์ที่คล่องตัว Facebook ขอเสนอ Brand Collabs Manager

บนแพลตฟอร์มนี้ ธุรกิจของคุณสามารถค้นหาและเชื่อมต่อกับอินฟลูเอนเซอร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถตกลงราคาหรือรายละเอียดได้ตามต้องการตามข้อตกลง คุณลักษณะนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าบริษัทของคุณจะได้รับบริการที่คุณต้องการ

Brand Collabs Manager รวมอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 25,000 ถึง 8 ล้านคน ด้วยขอบเขตดังกล่าว คุณสามารถเชื่อมต่อกับอินฟลูเอนเซอร์ระดับไมโครและมาโครได้ ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของพวกเขาก่อนตัดสินใจได้

แพลตฟอร์มนี้ใช้งานได้ฟรี

2. อินสตาแกรม (฿300 / 1,000 ผู้ติดตาม)

ผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านราย โดยเฉลี่ยประมาณ 80% ติดตามธุรกิจ Instagram ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางที่คุ้มค่าสำหรับการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ โดยมีราคาเฉลี่ย ฿ 300 ต่อโพสต์ ต่อผู้ติดตาม 1,000 คน

สำหรับมุมมองเล็กๆ น้อยๆ ต่อไปนี้ คือ ราคาที่เป็นไปได้สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คน:

  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน อาจมีราคา ฿ 3000 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คน อาจมีราคา ฿ 30,000ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 1,000,000 คน อาจมีราคา ฿ 300,000 ต่อโพสต์

ในบางกรณี ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้

ตัวอย่างเช่น ดาราหรือเน็ตไอดอล อาจเพิ่มราคาได้ ตามระดับความมีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น นักฟุตบอลอาชีพอย่าง Cristiano Ronaldo

มีผู้ติดตามมากกว่า 140 ล้านคนบน Instagram และรับรายได้ ฿22,500,000 ต่อโพสต์

จากค่าเฉลี่ยข้างต้น เขาควรมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาทต่อการโพสต์

แม้ว่าการใช้คนมีชื่อเสียงจะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การทำงานร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ในตลาดเฉพาะกลุ่มของคุณจะมีประโยชน์มากกว่า เพราะอินฟลูเอนเซอร์จะมีวิธีการสื่อสาร พูดคุยกับผู้ชมของคุณได้โดยตรง

ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นผู้ผลิตรองเท้าผ้าใบสำหรับวิ่ง คุณมีตลาดเฉพาะกลุ่มมากมาย เช่น:

  • นักวิ่งมาราธอน
  • จ็อกกิ้งลำลอง
  • นักวิ่งเทรล

ซึ่งกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล คุณสามารถเข้าถึงอินลูเอนเซอร์ในแต่ละตลาดข้างต้นได้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ชมทุกกลุ่ม หรือยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อการเปรียบเทียบ หากคุณมีโอกาสได้ร่วมงานกับนักวิ่งที่มีชื่อเสียง สินค้าของคุณก็จะเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง ซึ่งอาจจะเป็นคนที่ไม่สนใจการวิ่งด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทของคุณชอบแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพมากกว่า คุณสามารถร่วมมืออินฟลูเอนเซอร์ที่อิงราคาตามการมีส่วนร่วมของผู้ชม กลยุทธ์นี้จะดีกว่าเพราะคุณจ่ายเงินเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากโพสต์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์ การแสดงความคิดเห็นไปจนถึงการแชร์

โดยเฉลี่ยแล้ว Influencer ที่ทำตามรูปแบบการกำหนดราคานี้จะเรียกเก็บเงิน ฿7,500 ถึง ฿22,500 ต่อ 1,000 การมีส่วนร่วม นั่นหมายความว่าในจำนวน 1,000 การมีส่วนรวม ก็จะรวมถึงการกดไลก์ แสดงความคิดเห็น และแชร์

หากคุณต้องการทดลองราคาการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์บน Instagram ให้ลองใช้เครื่องคำนวณต้นทุนนี้

3. Twitter (฿ 60 / 1,000 ผู้ติดตาม)

Twitter ผู้ใช้ 330 ล้านคน จึงมีผู้ชมน้อยกว่า Facebook และ Instagram อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ยังคงใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และพวกเขาไม่ต้องจ่ายเงินมากในการโฆษณา ด้วยราคา ฿60 ต่อโพสต์ ต่อผู้ติดตาม 1,000 คน ดังนั้น Twitter จึงถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เสนอราคาการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ต่ำที่สุด

สำหรับมุมมองต่อไปนี้คือราคาการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ที่อาจเกิดขึ้นสำหรับ Twitter:

  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน อาจมีราคา ฿ 600 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คน อาจมีราคา ฿ 6,000 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 1,000,000 คน อาจมีราคา ฿ 60,000ต่อโพสต์

ในกรณีส่วนใหญ่ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคน จะมีเรทราคาที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยนี้ เนื่องจากมีผู้ติดตามจำนวนมากซึ่งอาจเป็นที่รู้จักนอกโซเชียลมีเดีย ก็อาจเป็นข้อดีที่บริษัทของคุณจะมีโอกาสเป็นที่รู้จักมากขึ้น

และแน่นอนว่า การโฆษณาของคุณก็มีขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายของคุณนั่นเอง

อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากมักจะมีผู้ติดตามที่มีความสนใจหลากหลาย รวมถึงเหตุผลในการติดตามที่แตกต่างกัน ในส่วนนี้ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เพราะอาจได้ผู้ติตดามที่ไม่ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายซึ่งอาจไม่สร้างมูลค่าในระยะยาว ซึ่งต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็นเมื่อเทียบกับการมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเฉพาะของผู้ชมของคุณ

4. YouTube (฿600 / 1,000 สมัครสมาชิก)

Youtube มีผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านราย ทำให้ให้ธุรกิจต่างๆ เข้าถึงอินฟลูเอนเซอร์รุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วอินฟลูเอนเซอร์บน YouTube จะเรียกเก็บเงิน ฿ 600 ต่อวิดีโอ ต่อสมาชิก 1,000 คน อย่างไรก็ตามผู้ใช้ YouTube ที่มียอดผู้ชมมากกว่าหนึ่งล้านคน ก็จะมีการกำหนดราคาอีกเรทนึง

นี่คือราคาที่เป็นไปได้บางส่วนสำหรับการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์บน YouTube:

  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน อาจมีราคา ฿ 6,000 ต่อวิดีโอ
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คน อาจมีราคา ฿ 60,000 ต่อวิดีโอ
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 1,000,000 คน อาจมีราคา ฿600,000 ต่อวิดีโอ

อย่างไรก็ตาม อินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าถึงสมาชิกมากกว่าหนึ่งล้านคน อาจมีเรทราคาที่แตกต่างจากนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าผู้ใช้ YouTube ที่มีการเข้าถึงจำนวนมากนั้นสามารถเรียกเก็บเงินสูงถึง ฿1,800,000 ต่อวิดีโอ

เช่นเดียวกับ Facebook เพราะ YouTube เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างอินฟลูเอนเซอร์กับผู้ชมจำนวนมาก แต่ก็มาพร้อมกับราคาตามจำนวน

แพลตฟอร์ม FameBit จับคู่อินฟลูเอนเซอร์และบริษัทต่างๆ โดยใช้ปัจจัยหลายประการ เช่น งบประมาณ ผู้ชมเป้าหมาย และเป้าหมาย เพื่อเชื่อมโยงคุณกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความเหมาะสม แม้ว่าจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าร่วมแพลตฟอร์ม แต่ต้นทุนโครงการขั้นต่ำคือ ฿3,000

FameBit ยังเรียกเก็บค่าบริการ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคุณได้จับคู่และอนุมัติเนื้อหาของอินฟลูเอนเซอร์แล้ว

หากคุณต้องการแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ คุณสามารถกำหนดราคาการตลาดของ Influencer ตามยอดดูวิดีโอได้ โดยจะมีราคาประมาณ ฿ 1,500 ถึง ฿ 3,000 ต่อการดู 1,000 ครั้ง ช่วงราคานี้มักขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ด้วย ตลอดจนสถิติล่าสุดเกี่ยวกับการดูวิดีโอ

ตัวอย่างเช่น หากวิดีโอล่าสุดของอินฟลูเอนเซอร์มียอดดูประมาณ 10,000 ครั้ง เทียบกับการดู 5,000 ครั้งเหมือนวิดีโอก่อนหน้านี้ อินฟลูเอนเซอร์อาจเรียกเก็บเพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ตรงกันข้ามหากยอดน้อยลงอินฟลูเอนเซอร์จะคิดค่าบริการน้อยลงเนื่องจากการเข้าถึงที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม YouTuber ที่มีการดูวิดีโอน้อยลงก็อาจจะยังจำเป็นและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับคุณอยู่ หากอินฟลูเอนเซอร์รายนั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคุณหรืออยู่ในกลุ่มเฉพาะที่เข้าถึงได้ยากในตลาดนั้นๆ พวกเขาก็สามารถช่วยให้เป้าหมายทางการตลาดของคุณประสบความสำเร็จได้ ตั้งแต่การเยี่ยมชมเว็บไซต์, การสมัครรับข้อมูลช่อง YouTube ของคุณ หรือซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ

5. Snapchat (฿ 300/1000 ผู้ติดตาม)

ด้วยผู้ใช้เฉลี่ย 188 ล้านคนต่อวัน Snapchat ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงอินฟลูเอนเซอร์ได้หลากหลาย โดยเฉลี่ยแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ใน Snapchat จะเรียกเก็บเงิน ฿ 300 /โพสต์/ผู้ติดตาม 1,000 คน

สำหรับมุมมองต่อไปนี้คือค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้มีอิทธิพลที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 คนใน Snapchat:

  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน อาจมีราคา ฿ 3,000 ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คน อาจมีราคา ฿ 30,000ต่อโพสต์
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 1,000,000 คน อาจมีราคา ฿ 300,000 ต่อโพสต์

หากคุณใช้งาน Snapchat อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบการกำหนดราคานี้

ใน Snapchat คุณจะไม่เห็นว่ามีผู้ติดตามจำนวนเท่าไร เนื่องจากเป็นแบบส่วนตัว อย่างไรก็ตาม คุณสามารถดูจำนวนการดู Snapchat Story ของผู้ใช้ได้ โดยบางบริษัทใช้จำนวนการดูนั้นเพื่อประเมินจำนวนผู้ติดตามของผู้มีอิทธิพล แต่บริษัทอื่นๆ ใช้สำหรับรูปแบบการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน

ดังนั้น แทนที่จะจ่าย ฿300 ต่อโพสต์ ต่อผู้ติดตาม 1,000 คน บริษัทอาจจะใช้วิธีการจ่าย ฿300 ต่อโพสต์ ต่อการดู 1,000 ครั้ง

เช่นเดียวกับ YouTube Snapchat ยังมีโปรแกรมจับคู่สำหรับบริษัทและอินฟลูเอนเซอร์อีกด้วย

ด้วย Snapchat Storytellers อินฟลูเอนเซอร์จะให้บริการธุรกิจของคุณ รวมถึงคำแนะนำในการปรับปรุงสถานะของคุณใน Snapchat อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้จำกัดเฉพาะอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์จำนวนหนึ่งเท่านั้น ข้อดีคือ Snapchat Storytellers ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้นหา ซึ่งต่างจาก FameBit

6. บล็อก (฿1,800 / 1,000 ผู้เยี่ยมชม)

แม้ว่าอินฟลูเอนเซอร์จะเป็นที่รู้จักกันดีบนโซเชียลมีเดีย แต่หลายคนก็ยังคงมีบล็อกส่วนตัวไว้ การใช้บล็อกของพวกเขาก็เพื่อให้เกิดการเข้าถึง เชื่อมต่อ และสนทนากับกลุ่มเป้าหมายได้ในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม Influencer โดยจะมีการเรียกเก็บเงินประมาณ ฿ 1,800 ต่อโพสต์ ต่อผู้เข้าชม 1,000 รายที่ไม่ซ้ำกันสำหรับบริการนี้

แต่ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีปัจจัยดังนี้:

  • อุตสาหกรรม: หากคุณอยู่ในอุตสาหกรรมด้านเทคนิค จำเป็นต้องทำงานกับอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าใจตลาดและกลุ่มเป้าหมายของคุณ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้องใช้ความเชี่ยวชาญ อินฟลูเอนเซอรอาจมีโอกาสเรียกเก็บเงินมากกว่า ฿ 1,800 ต่อโพสต์
  • หัวข้อ: หัวข้อบล็อกที่คุณเสนออาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นรีสอร์ทหรูและต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์เขียนโพสต์เกี่ยวกับประสบการณ์การเข้าพัก ก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าเดินทางและค่าเข้าพัก
  • ความยาว: เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุด บริษัทของคุณควรระบุจำนวนคำที่ต้องการใช้โพสต์บนบล็อกของอินฟลูเอนเซอร์ เพราะจะทำให้อินฟลูเอนเซอร์ทำงานง่ายขึ้นและทำให้คิดราคาได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะอินฟลูเอนเซอร์บางรายคิดตามความของเนื้อหา

แม้ว่าบล็อกจะมีราคาแพงกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ แต่บล็อกก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าบล็อกมีประสิทธิภาพในการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์มากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น Facebook และ YouTube ถึง 37%

สรุปราคาตลาดอินฟลูเอนเซอร์
แพลตฟอร์ม ค่าใช้จ่ายต่อจำนวนผู้ติดตาม
Facebook ฿750 / ผู้ติดตาม 1,000 คน
Instagram ฿300 / ผู้ติดตาม 1,000 คน
Twitter ฿60 / ผู้ติดตาม 1,000 คน
YouTube ฿600 / 1,000 ยอดสมาชิกผู้ติดตาม
Snapchat ฿300 / 1,000 ผู้ติดตามหรือจำนวนการดู
บล็อก ฿1,800 / การดู 1,000 ครั้ง
อะไรเป็นตัวกำหนดราคาทางการตลาดของ Influencer?

ปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดราคาการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ในปี 2564 ได้แก่:

รูปแบบของการกำหนดราคา

ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ รูปแบบการกำหนดราคา รูปแบบการกำหนดราคาทั่วไปสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ มีดังนี้ :

  • การจ่ายต่อโพสต์: รูปแบบการกำหนดราคาแบบจ่ายต่อโพสต์ ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นประเภทใด ตั้งแต่ข้อความไปจนถึงวิดีโอ ธุรกิจของคุณก็จ่ายในอัตราคงที่ ในบางครั้ง อินฟลูเอนเซอร์อาจกำหนดจำนวนเฉพาะตามประเภทโพสต์
  • การจ่ายต่อคลิก: เป็นรูปแบบการกำหนดราคาที่วัดด้วยผลลัพธ์ การจ่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนคลิกที่มาจากโพสต์ นั่นหมายความว่ามีผู้เข้าชมได้ทำการคลิกตามคำกระตุ้นการตัดสินใจ (CTA) ของอินฟลูเอนเซอร์หลังจากโพสต์ไปแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทั่งธุรกิจและอินฟลูเอนเซอร์ต่างก็ชอบการกำหนดราคาด้วยรูปแบบนี้
  • การจ่ายต่อการได้รับกลับมา: เป็นรูปแบบการกำหนดราคาที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์เชิงรุกมากขึ้น การแปลงของผู้ชมอาจเป็นได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับธุรกิจ เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ การลงชื่อรับข่าวสารทางอีเมล เป็นต้น เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์มักจะช่วยในการรับรู้ถึงแบรนด์มากกว่า จึงไม่ค่อยเห็นรูปแบบการกำหนดราคาด้วยวิธีการนี้
  • การจ่ายต่อสมาชิก: เป็นรูปแบบการกำหนดราคาทั่วไปอีกรูปแบบหนึ่ง การจ่ายต่อผู้ติดตามขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ อย่างไรก็ตามการจ่ายต่อสมาชิกเป็นตัวชี้วัดที่ไม่ค่อยนิยมเท่าไร เนื่องจากจะมีเพียงผู้ติดตามบางคนเท่านั้นที่เห็นโพสต์ของอินฟลูเอนเซอร์
  • การจ่ายต่อการชม: รูปแบบการกำหนดราคาที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์อีกวิธีหนึ่ง คือจะนับตามจำนวนการชมสินค้าจากที่อินฟลูเอนเซอร์ได้โปรโมทไป ซึ่งรูปแบบการกำหนดราคานี้มีความแม่นยำมากกว่าการจ่ายต่อสมาชิก ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นที่นิยมในบริษัทต่างๆ

อย่างไรก็ตาม สำหรับแคมเปญการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ที่คุ้มค่าที่สุด เราขอแนะนำให้เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เสนอรูปแบบราคาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

  • การจ่ายต่อโพสต์
  • การจ่ายต่อการรับชม
  • การจ่ายต่อสมาชิก

โดยสิ่งที่ที่สุดของการกำหนดรูปแบบราคาเหล่านี้ คือ เป็นราคาปกติของอินฟลูเอนเซอร์

แพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์มที่คุณต้องการอาจส่งผลต่อต้นทุนการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ตัวอย่างเช่น แคมเปญการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์บน YouTube จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าแคมเปญการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์บน Twitter อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจจะไม่ค่อยมีความแตกต่างด้านราคาระหว่างแพลตฟอร์ม

ตัวอย่างเช่น Instagram และ Snapchat มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเท่ากัน

ไม่ว่าคุณจะเลือกกำหนดเป้าหมายแพลตฟอร์มใด สิ่งสำคัญคือต้องเลือกแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเป้าหมายของคุณใช้ หากคุณกำลังมุ่งเน้นไปที่ Snapchat แต่กลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่บน Facebook แคมเปญนั้นจะก็จะไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้นคุณสามารถเพิ่มความสำเร็จของแคมเปญได้โดยการวิจัยกลุ่มเป้าหมายของคุณล่วงหน้า

รูปแบบการโพสต์

คุณสามารถจ้างอินฟลูเอนเซอร์เพื่อสร้างโพสต์ที่หลากหลายตามแพลตฟอร์มที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น Facebook สามารถโพสต์ข้อความ วิดีโอ และรูปภาพ ได้ ส่วน Snapchat เน้นไปที่รูปแบบวิดีโอและข้อความที่มีคำบรรยายภาพขนาดพอดีคำ

โพสต์ที่ต้องทำงานมากขึ้นมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น

เช่น หากคุณจ้างอินฟลูเอนเซอร์บน Instagram และต้องการให้สร้างโพสต์วิดีโอสำหรับ Instagram Story พวกเขาอาจคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการคิดราคาตามรูปแบบการจ่ายต่อโพสต์ แต่ถ้าอินฟลูเอนเซอร์นำเสนอโดยการอัปโหลดรูปภาพไปยัง Instagram Story ก็อาจทำให้ราคาถูกลง

สินค้าหรือบริการ

ราคาและผู้ชมเป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรือบริการ อาจส่งผลต่อการกำหนดราคาการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ของคุณได้ เช่น หากบริษัทของคุณขายนาฬิกาด้วยราคาเฉลี่ย ฿ 30,000 คุณต้องจ้างอินฟลูเอนเซอร์ที่กลุ่มเป้าหมายของคุณชอบและไว้วางใจสำหรับการซื้อประเภทดังกล่าว

อินฟลูเอนเซอร์ที่ชาญฉลาดก็รับรู้สิ่งนี้เช่นกัน นั่นเป็นสาเหตุที่อินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าถึงผู้ชมที่มีรายได้สูงมักจะคิดค่าบริการสูงขึ้น

นอกจากนี้ยังเป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีราคาสูง จึงมีแนวโน้มที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ อย่างไรก็ตาม หากธุรกิจของคุณขายสินค้าราคาไม่สูง คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้อินฟลูเอนเซอร์ในกลุ่มฐานลูกค้ารายได้สูง

วิธีทางติดต่อ

ในขณะที่อินฟลูเอนเซอร์หลายคนมีอาชีพอื่นๆ ด้วย แต่บางคนอาจเป็นอินฟลูเอนเซอร์เต็มตัว ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนจึงทำงานร่วมกับเอเจนซี่เพื่อช่วยในการติดต่อ ประสานงาน และกำหนดราคา เป็นเสมือนตัวแทนของอินฟลูเอนเซอร์

โดยปกติแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องผ่านเอเจนซี่มักจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ไม่มีเอเจนซี่หรือสังกัด

การเพิ่มขึ้นของราคานี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง แต่โดยทั่วไปแล้วอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะมีผู้ติดตามจำนวนมากและมีอัตราการมีส่วนร่วมของผู้ชมที่สูงขึ้น อีกทั้งอินฟลูเอนเซอร์ยังต้องมีส่วนแบ่งให้กับเอเจนซี่หรือสังกัด ดังนั้นอัตราค่าจ้างของพวกเขาจึงเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆ

ดังนั้นจากมุมมองทางธุรกิจ การทำงานกับอินฟลูเอนเซอร์ที่ไม่มีสังกัดเอเจนซี่หรือหน่วยงานใดๆ จะคุ้มค่ากว่า อีกทั้งไมโครอินฟลูเอนเซอร์ก็สามารถนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพได้เหมือนกัน

แคมเปญ

สำหรับธุรกิจจำนวนมาก การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ให้ผลตอบรับมากกว่าการโพสต์ด้วยโพสต์เดียว ดังนั้นคุณจึงต้องโพสต์เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลายครั้งและสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พวกเขาเข้าชมเว็บไซต์ หรือ สำรวจผลิตภัณฑ์ หรือ ดำเนินการอื่นๆ

นี่จึงเป็นเหตุผลที่บริษัทต่างๆ สร้างแคมเปญการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์

หากคุณกำลังพัฒนาแคมเปญ โดยทั่วไป หนึ่งแคมเปญประกอบด้วยโพสต์หลายรายการ ซึ่งการใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ อาจจะมีทั้งอินฟลูเอนเซอร์ที่คิดราคาคงที่ แต่บางรายอาจเรียกเก็บเพิ่มในโพสต์อื่นๆ

โปรโมทข้ามช่องทาง

อินฟลูเอนเซอร์มักจะใช้สื่อหลากหลายในแพลตฟอร์มต่างๆ ตั้งแต่ Facebook, Instagram ไปจนถึง Snapchat หากกลุ่มเป้าหมายของคุณใช้เครือข่ายโซเชียลมีเดียมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม ก็ควรมีกลยุทธ์การตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม

อย่างไรก็ตาม การโปรโมตข้ามช่องทางจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์สร้างโพสต์สำหรับ Instagram แล้วแชร์โพสต์นั้นบน Facebook พวกเขาอาจมองว่าเป็นสองโพสต์แยกจากกัน คุณอาจต้องจ่ายอัตราที่แตกต่างกันสำหรับโพสต์ 2 แพลตฟอร์มนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและการมีส่วนร่วมในโพสต์นั้นๆ ด้วย

ข้อกำหนดพิเศษ

คุณอาจต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์โปรโมตสินค้าของคุณเพียงแห่งเดียว ซึ่งข้อตกลงพิเศษนั้นจะให้มูลค่าที่สูงกว่าแต่ก็มาพร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย นั่นเป็นเพราะการทำงานให้กับบริษัทของคุณเพียงแห่งเดียวในประเภทอุตสาหกรรมสินค้าเดียวกัน ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ต้องปฏิเสธแหล่งรายได้อื่นๆ

สิ่งนี้เป็นข้อกำหนดพิเศษ ไม่ใช่ข้อตกลงระยะยาว

ในกรณีส่วนใหญ่ สัญญาระหว่างธุรกิจของคุณและอินฟลูเอนเซอร์จะระบุว่าเมื่อใดที่อินฟลูเอนเซอร์จะกลับมาเริ่มโปรโมตแบรนด์อื่นได้อีกครั้ง นั่นเป็นเหตุผลที่ทีมของคุณต้องพิจารณาว่าการผูกขาดนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้น จะใช้เวลานานแค่ไหน

เพราะการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์และการกำหนดราคา ครอบคลุมปัจจัยต่างๆ มากมาย ธุรกิจจำนวนมากจึงเลือกที่จะเป็นพาร์ทเนอร์กับ

เอเจนซี่การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ เช่น Uptle เพราะหน่วยงานเหล่านี้จะปรับปรุงกระบวนการค้นหาและติดต่อกับอินฟลูเอนเซอร์โดยตรง โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องหาด้วยตัวเอง

พร้อมที่จะเติบโต? รับใบเสนอราคาฟรีวันนี้!

นักออกแบบเว็บไซต์และนักพัฒนาเว็บของเราตลอดจนนักวางกลยุทธ์ดิจิทัลได้เปิดตัวไซต์มากกว่า 1,000 แห่งและทำงานร่วมกับลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการค้าปลีกไปจนถึงการดูแลสุขภาพ ไม่ต้องพูดถึงเราช่วยให้ลูกค้าของเรามีรายได้มากกว่า 1.5 พันล้านบาทในช่วงห้าปีที่ผ่านมาและยังคงช่วยให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจ ขอใบเสนอราคาฟรีและดูว่า Uptle สามารถช่วยคุณได้อย่างไร

การเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นโดย
+ 95%
เพิ่มอัตราการแปลงโดย
+ 37%
โอกาสในการขายที่เพิ่มขึ้นสร้างโดย
+ 60%
เอเจนซี่การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ราคาเท่าไหร่?

โดยเฉลี่ยแล้ว ราคาเอเจนซี่การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์มีตั้งแต่ ฿ 30,000 ถึง ฿ 540,000 ต่อเดือน

แม้ว่าทุกหน่วยงานจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่ค่าธรรมเนียมนี้ มักจะรวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

  • การสร้างกลยุทธ์การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์
  • การค้นคว้าและรวบรวมรายชื่อผู้มีอิทธิพลที่มีศักยภาพ
  • การว่าจ้างอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับอนุมัติ
  • พัฒนาคอนเทนต์กับอินฟลูเอนเซอร์
  • ติดตามประสิทธิภาพแคมเปญการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์

ในบางกรณี เอเจนซีจะคิดราคาตามจำนวนโพสต์ที่คุณต้องการ

ตัวอย่างเช่น เรากำหนดราคาบริการด้านการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมีตั้งแต่ ฿ 54,000 ถึง ฿ 162,000 ตามจำนวนโพสต์และจำนวนการดูโดยเฉลี่ย หากคุณกำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดการดูโพสต์ 30,000 ถึง 100,000 ครั้ง อัตราค่าบริการของเราคือ ฿54,000 ต่อโพสต์

ดังนั้นถ้าคุณกำลังคิดที่จะเป็นพาร์ทเนอร์กับเอเจนซี่ที่ทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ตรวจสอบรูปแบบการกำหนดราคาแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทของคุณจะได้รับบริการที่ดี ซึ่งจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการตลาดดิจิทัลได้

5 ปัจจัยที่กำหนดราคาเอเจนซี่การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์

ปัจจัย 5 ข้อที่ส่งผลต่อการกำหนดราคาของบริษัทการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ได้แก่:

1. โพสต์

โดยทั่วไปแล้วเอเจนซี่จะปรับราคาการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ตามจำนวนโพสต์ที่เสนอมา หากคุณต้องการให้อินฟลูเอนเซอร์โพสต์จำนวน 5 โพสต์ เมื่อเปรียบเทียบกับโพสต์เดียว ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะอินฟลูเอนเซอร์มักจะคิดค่าใช้จ่ายต่อโพสต์

2. ผู้ติดตาม

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทด้วย เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์อาจกำหนดราคาโดยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม หากต้องการอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 50,000 คน เทียบกับผู้ติดตาม 5,000 คน คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่าก็จะมียอดการเข้าชมมากขึ้น แม้ว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

3. ยอดการดู

เอเจนซียังสามารถใช้จำนวนการดูโดยเฉลี่ยของอินฟลูเอนเซอร์เป็นปัจจัยด้านราคาได้ หากคุณทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดดูเฉลี่ย 30,000 ครั้ง เทียบกับการดู 3000 ครั้ง คุณจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รูปแบบการกำหนดราคานี้มีความสมเหตุสมผลมากกว่า เนื่องจากสามารถวัดกันที่ประสิทธิภาพได้

4. ประสบการณ์

ภูมิหลังของบริษัทอาจส่งผลต่อการกำหนดราคาการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ เอเจนซี่ที่มีประสบการณ์น้อยกว่ามักจะคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเอเจนซี่ที่มีประสบการณ์หลายสิบปี อย่างไรก็ตาม ความเชี่ยวชาญของเอเจนซี เป็นสิ่งที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพแคมเปญและผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของแคมเปญ

5. ทรัพยากร

แหล่งข้อมูลที่มีให้สำหรับหน่วยงานการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ อาจส่งผลต่อการกำหนดราคาเช่นกัน แหล่งข้อมูลที่ว่านี้ มีตั้งแต่เทคโนโลยีการตลาด ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนราคาของคุณเพิ่ม แต่ก็คุ้มค่าเพราะสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพแคมเปญของคุณได้ด้วย

เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามค้นหาราคาการตลาดทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการตลาดอินฟลูเอนเซอร์หรือการตลาดโซเชียลมีเดีย คุณจะได้รับผลตอบแทนตามงบประมาณที่คุณเลือกใช้ หากคุณใช้บริการการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ที่“ ราคาถูก” อย่าคาดหวังผลลัพธ์ที่คุ้มค่าใดๆ

เนื่องจากเอเจนซีที่โปรโมตราคาการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ "ต้นทุนต่ำ" หรือ "ราคาถูก" อาจทำให้มีงานเข้ามามากมายจนละเลยเรื่องคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรหรือผลงาน ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจได้รับผลลัพธ์จากการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ตามที่คาดหวัง จำเป็นต้องลงทุนในบริษัทที่เชื่อถือได้

พร้อมที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณแล้วหรือยัง?

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราสามารถสร้างยอดขายด้วยมูลค่ามากกว่า 30 พันล้านบาทและลูกค้ามากกว่า 3 ล้านรายที่เราสร้างขึ้นสำหรับลูกค้าของเรา Uptle เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องการพันธมิตรทางการตลาดดิจิทัลที่สามารถให้ผลลัพธ์จากแคมเปญการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ จะเห็นความสำเร็จอย่างมากกับทีมของเรา

คำถาม?

มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Uptle? เรายินดีที่จะตอบคำถามเหล่านี้

กรอกแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเราว่าอย่างไร
ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับคุณกิจกรรมหรือกระบวนการจ้างงานของเรา

พร้อมที่จะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด?

คุณ Sales

081-111-2233
1.6M

ชั่วโมงแห่งความเชี่ยวชาญ

300+

ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล

1,128

ชั่วโมงแห่งความเชี่ยวชาญ